1.  วัดกัลยาณมิตร   (44,53,82,ปอ.12,44)
                            นั่งรถเมล์หรือจะไปที่ท่าเตียน หรือท่าราชินี ข้าเรือข้ามฟากไป      มีพระพุทธรูป

                           หลวงพ่อโต (ซำปอกง) สมัยสุโขทัย องค์ใหญ่เหมือนกับหลวงพ่อโต วัดพนันเชิง

                           จังหวัดอยุธยา และมีระฆังใบใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

2. วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)  (19,57,83)
                                   สร้างในสมัยปลายอยุธยา สร้างเสร็จสมบูรณ์สมัยรัชกาลที่ 4 พระปรางค์สูง

                          82 เมตร ฐานกว้าง 234 เมตร ศิลปเขมรและติดกระเบื้องเคลือบหลากสีจากประเทศจีน

3. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  12,44,91,82,ปอ.44,12,1,8

       เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย ศูนย์รวม
       ความรู้ว่าด้วยเรื่องตัวยาสมุนไพรไทย และหัตถกรรมต่าง ๆ ภายในพระอุโบสถ

       มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่มาก ยาว 49 เมตร พระบาทแต่ละข้างมีลวดลาย

       ประดับมุกมงคล 108 ประการ เปิดเวลา (08.00-15.00น.)

4.  ท่าเรือราชวรดิษฐ์   1,3,53,82,123,ปอ.1,8

      ใช้เป็นท่าเรือสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นประทับเรือพระที่นั่ง
       ใช้เสด็จทางชลมารค หรือประกอบพิธีทางน้ำ

5.  ท่าช้าง  6,25,44,47,53,82,91,123,201,203,ปอ.1,8,12,14,91

      ในสมัยก่อนเป็นที่อาบน้ำของช้าง ปัจจุบันเป็นท่าเรือสำคัญอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
      เจ้าพระยาเป็นท่าขึ้นลง สำหรับนักท่องเที่ยว เช่าเรือเล็กแล่นไปตามคลอง

      เพื่อเที่ยวชมชีวิตริมฝั่งน้ำ

6.  วัดระฆังโฆษิตาราม  19,57,83

      สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และบูรณะใหม่ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช
      ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 ภายในหอไตรสร้างด้วยไม้สักกับภาพเขียนที่สวยงาม

      ละเอียดอ่อน และเคยเป็นบ้านพักอาศัยของรัชกาลที่ 1 ก่อนสถาปนาเป็น

      กษัตริย์ และภายในวัดมีรูป องค์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ซึ่งใน

      อดีตเป็นพระผู้มีปฏิปทาในการสร้างพระพิมพ์ สมเด็จวัดระฆังและนำเอาพระ

      คาถาชินบัญชรมาจากลังกาเรียบเรียงใหม่ จนเป็นที่โด่งดังและเลื่อมใสมาสู่

      ทุกวันนี้

7.  กรมศิลปากร  1,3,44,47,53,59,70,82,123,201,203,ปอ.6,12,44

      เป็นศูนย์การศึกษาแหล่งความรู้ และความสวยงามแห่งศิลปกรรม วิเคราะห์วิจัย
      ด้านโบราณวัตถุ โบราณสถานทุกแห่งในประเทศไทย

8. พระบรมมหาราชวัง  (1,2,3,6,9,15,25,33,39,44,53,59,70,82,203,ปอ.6,8,39,44,ปอ.สาย 2

      เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 8.30 น.-11.30น. , 13.00 น.-15.30 น. สิ่งที่น่าสนใจคือ
     หมู่พระที่นั่งสำคัญๆ ได้แก่ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทพระที่นั่งอาภรณ์นิโมกข์ปราสาท

     พระที่นั่งพิมานรัตนา และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

- ศาลาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ไทย อยู่บริเวณพระบรมมหาราชวัง

เป็นห้องจัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ มีของที่ระลึกจัดจำหน่าย

9. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)  1,2,3,6,9,15,25,
       33,39,44,53,59,70,82,203,ปอ. 6,8,39,44, ปอ.สาย 2

       ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง สร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325)
       ในตอนแรกที่สถาปนากรุงสยามและบางกอกเป็นเมืองหลวง ประดิษฐานในโบสถ์ชั้นใน

      คือ องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เป็นวัดที่สำคัญและสวยงามที่สุดวัด

      หนึ่งในประเทศไทย

10.  กระทรวงกลาโหม  1,2,3,9,60, ปอ. 2

        ตั้งอยู่ริมถนนสนามชัย ตรงข้ามวัดพระแก้ว หน้ากระทรวงมีปืนใหญ่สมัยโบราณ
        รายล้อมหลากหลายชนิด

11.   ศาลหลักเมือง  1,2,3,6,9,15,19,25,30,43,44,47,59,60,64,70,80,91,123,201,203,
  ปอ.7,12,39,44,80,91,ปอ.สาย 2,15

  เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาติไทย เมื่อจะสร้างบ้านเมืองต้องมีการฝังเสาหลักเมือง
  ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีฝังเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์

  ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ภายในศาลมีเทวรูปสำคัญ 5 องค์ คือ เทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง

  พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี

12.   สนามหลวงหรือทุ่งพระเมรุ  1,2,3,6,9,15,19,25,30,39,43,47,59,60,64,70,80,
       91,123,201,203,ปอ.7,12,39,44,80,91,ปอ.สาย 2,15

         มีขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณนี้เป็นที่ทำนาของประชาชน ยกเลิกในสมัยรัชกาล
         ที่ 4 เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ใช้เป็นที่ตั้งพระเมรุเผาศพของเจ้านาย

         จึงเรียกกันติดปากว่า ทุ่งพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ

        ว่านามนี้ไม่เป็นมงคล จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกใหม่ว่า " ท้องสนามหลวง "

13.  วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์   53,91,201,203,ปอ.1,91

        ตั้งอยู่ถนนหน้าพระธาตุ (สนามหลวง) เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์ชื่อ มหาจุฬาลงกรณ์-
        ราชวิทยาลัย เป็นที่เทศนาธรรม เรียนทุกวันอาทิตย์ และมีการอบรม เรื่องยาสมุนไพร

14.  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  3,6,9,15,19,30,32,33,39,43,53,59,64,70,82,201,
 203,ปอ.1,6,39,80,ปอ.สาย 15

 สร้างในปี 2477 เดิมเป็นส่วนหนึ่งของวังหน้า ของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
 ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาชั้นนำของประเทศโดยเฉพาะสาขา วิชากฎหมาย การปกครอง การฑูต

15.  โรงละครแห่งชาติ  3,9,15,19,30,32,33,39,43,53,59,64,65,70,82,203,
 ปอ.6,39,ปอ.สาย 15

จัดแสดงการละเล่น การละคร จัดขึ้นทุกวันศุกร์และเสาร์ ปลายเดือน
นอกจากนี้ก็มีรายการแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์

16.  หอศิลป์แห่งชาติ     ปอ.6

        ตั้งอยู่บนถนนเจ้าฟ้า ตรงข้ามกับโรงละครแห่งชาติ เป็นที่จัดนิทรรศการศิลปวัตถุ ภาพวาด
        โดยจิตรกรไทย เปิดให้ชมในวันอังคาร, พุธ,พฤหัสบดี,เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 9.00 น.-

        16.00น. โทร. 281-2224